วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

พระโสธร 2 หน้า ปี2497 พิมพ์5-7 , 5-7

สุดยอดเหรียญหลวงพ่อโสธรที่ได้รับการเสาะแสวงหากันอย่างมากอีกชนิดหนึ่งได้แก่ "เหรียญปั๊มโสธรสองหน้า ปี 2497" ซึ่ง พระราชเขมากร (ก่อ เขมทัสสี) เจ้าอาวาสและเจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทรา ดำเนินการจัดสร้างขึ้นเพื่อบูรณะวิหารหลวงพ่อโสธร โดยสร้างพร้อมกับพระชัยวัฒน์, แผ่นปั๊มหน้ากาก, เหรียญอาร์ม, เหรียญใบเสมาเล็ก, แหวนลงยา, ผ้ายันต์ และธง

เหรียญปั๊ม โสธรสองหน้า ปี 2497 นี้ นอกจากเนื้อทองเหลืองหรือเนื้อทอง ฝาบาตรแล้ว ยังมีผู้เคยพบเห็นเนื้อเงินด้วย มีสองหน้าเรียกกันง่ายๆ ว่า "พิมพ์มีวงแหวน" กับ "พิมพ์ไม่มีวงแหวน" คนรุ่นก่อนแบ่งย่อยออกอีก เป็น พิมพ์มีวงแหวน (นิยม), พิมพ์ 5-7:5-7, พิมพ์ 5-7:6-7, พิมพ์ 6-7:6-7, พิมพ์คางทูม

ข้อสังเกตของ "พิมพ์วงแหวน" ที่นิยมสุดๆ ก็คือ

- ด้านหน้าและด้านหลังจะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่ด้านหน้าจะมีวงแหวน กลมๆ อยู่กลางเส้นสังฆาฏิ เหนือแนว พระถัน ส่วนด้านหลังไม่มี

- มีเส้นบล็อกแตกหนาใหญ่ที่พระอังสาขวาขององค์พระ และมีเส้นแตกเล็กๆ อยู่ที่พระอังสาซ้าย

- เม็ดพระศกเม็ดที่ 4 แถวสองนับจากข้างบนเป็นเม็ดยาวคล้ายหยดน้ำ ปลายขึ้นไปชนกับเม็ดพระศกเม็ดที่ 4 แถวบนสุด

- มีเส้นประกายรัศมีซึ่งเกิดจากการปั๊ม แผ่กระจายรอบๆ องค์พระ
- เม็ดพระศกเม็ดกลางแถวล่างสุดกลมโตเหมือนกันทั้งสองด้าน

นอก จากนี้ให้สังเกตดู "ผิวเหรียญ" จะเป็นคลื่น ไม่เรียบทีเดียวนัก และกระแสเนื้อเหลืองจะออกสีเขียว ส่วนวงแหวนจะเกินเข้าไปในผ้าสังฆาฏิประมาณ 1 ใน 3 แล้วไม่จำเป็นจะต้องติดเป็นวงกลมทุกองค์ บางองค์อาจติดไม่แต็มก็ได้ และเส้นกำไรข้อพระหัตถ์ขวา เป็นวงขนาดใหญ่ดูคล้ายกับท่านสวมเสื้อแขนยาว และในพิมพ์วงแหวนจะมีเม็ดพระศกเรียกว่า 5-7:5-7 เช่นกัน จึงมักนำพิมพ์ที่ไม่มีวงแหวนแต่เป็น 5-7:5:7 ไปหยอดวงแหวนให้เป็นพิมพ์นิยม แต่ให้ดู 5-7:5-7 ของเดิมนั้น พระกรรณจะยาวกว่า และพระพักตร์จะดูเคร่งขรึมเคร่งเครียดกว่า

ส่วนเม็ดพระศกที่ เรียกว่า 5-7:5-7, 5-7:6-7, 6-7-6-7 นั้น เป็นชื่อที่เซียนพระใช้เรียกเม็ดพระศกสองแถวบนสุด ตัวเลขแรก หมายถึงแถวบนสุด ตัวเลขที่สอง หมายถึงเม็ดพระศกแถวสองด้านหน้า ส่วนเลขอีกชุดหนึ่งหมายถึงด้านหลัง เช่น 5-7:5-7 หมายถึงพิมพ์ด้านหน้ามีเม็ดพระศกแถวบนสุด 5 เม็ดแถวสอง 7 เม็ด ด้านหลังมีเท่ากัน เป็นต้น


ส่วน พิมพ์คางทูม หมายถึง แก้มด้านขวาองค์พระมีเนื้อ เกินอูมออกมา ความจริงเป็นพิมพ์ 5-7:6-7 นิยมนำไปแก้ให้เนื้อเกินหายไป ให้ส่องดูจะพบรอยแต่ง และด้านที่เกิดคางทูมคือ ด้าน 6-7 ซึ่งบล็อกนี้คงเป็นบล็อกหลังๆ จะเห็นเส้นแตกกระจายอยู่ทั่วไป และในทุกพิมพ์ขอบข้างและฐานจะมีการตกแต่งด้วยรอยตะไบเป็นปกติครับผม
เครดิต : http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXhNREkyTVRFMU5RPT0=
  
รัศมีข้างวิ่งเต้มเลยครับท่าน

5 ความคิดเห็น:

  1. อยากรู้เม็ดพระศก5~9/5~9เขาเรียกบล้อกอะไรปีใหนคับ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ8 มีนาคม 2559 เวลา 20:08

    ดูแล้วชอบไม่ทราบว่าให้เช่าไหมคับถ้าให้เช่าติดต่อที่ 061-5219799

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ8 มีนาคม 2559 เวลา 20:11

    ดูแล้วชอบไม่ทราบว่าให้เช่าไหมคับถ้าให้เช่าติดต่อที่ 061-5219799

    ตอบลบ
  4. ผมก็มีครับต้องการปล่อยเช่า ถ้าสนใจเบอร์โทร 0868002932

    ตอบลบ