วันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2556

พระสมเด็จ วัดระฆังแท้ๆ จากหนังสือประกวดครับ

 
 
 
 
 
 
 
  
 
 





ใครมีสมเด็จนี้ออย่างนี้ พิมพ์อย่างนี้ มาส่องกันครับเผื่ออาจจะเป็นสากลนิยมกับเขาบ้างครับ

เครดิต : http://board.palungjit.com/f128/%E0%B8%A0-%E0%B8%B2-%E0%B8%9E-%E0%B8%9E-%E0%B8%A3-%E0%B8%B0-%E0%B8%AA-%E0%B8%A1-%E0%B9%80-%E0%B8%94%E0%B9%87-%E0%B8%88-%E0%B8%A7%E0%B8%B1-%E0%B8%94-%E0%B8%A3-%E0%B8%B0-%E0%B8%86%E0%B8%B1-%E0%B8%87-%E0%B8%88-%E0%B8%B2-%E0%B8%81-%E0%B8%AB-%E0%B8%99%E0%B8%B1-%E0%B8%87-%E0%B8%AA%E0%B8%B7-%E0%B8%AD-%E0%B8%87-%E0%B8%B2-%E0%B8%99-%E0%B8%9B-%E0%B8%A3-%E0%B8%B0-%E0%B8%81-%E0%B8%A7-%E0%B8%94-365877-8.html

วันพุธที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

พระกริ่งจีน ราชวงศ์หมิง

พระกริ่งจีน 1 ในตำนานนั้น คือ กริ่งราชวงศ์หมิง อายุสร้างไม่ต่ำกว่า 600ปี หากจะนับองค์แล้ว ในประเทศไทย มีแค่หลักสิบ เท่านั้น เนื่องจากพระกริ่งในไทย ถอดแบบมาจากกริ่งจีนแทบทั้งสิ้น และค่อนข้างต่างจากกริ่งทิเบต อย่างมีเอกลักษณ์ หากจะว่าไปแล้ว พระกริ่งนิยมนำมาทำน้ำมนต์ ไล่สิ่งชั่วร้ายออกไป  หากคิดว่าสมัย600ปีของจีน ตรงกับสมัยใดของไทย น่าจะเป็นช่วงสุโขทัย เป็นราชธานี แค่คิดก็ยาวนานแล่วว พี่น้องที่เคารพ








พระนางพญา พิมพ์สังฆาฏิ กรุน้ำ


พระเด็ดสุดคืนนี้คือ พระนางพญา  พิมพ์สังฆาฏิ กรุน้ำ(พบที่บ้านตาปาน เมื่อปี2497 บริเวณตำบลบางสะแก ริมฝั่งแม่น้ำน่าน จำนวนที่พบประมาณพันกว่าองค์เท่านั้น) องค์นี้สภาพใช้มาอย่างยาวนาน สำหรับเจ้าของคนเก่า มาถึงผมก็เข้าฟอร์มเดิม เก็บลูกเดียว แขวนจริงๆก็ไม่กี่องค์หรอกครับ ต่อให้แขวนวันละองค์ ปีหนึ่งๆพระยังไม่ครบทุกองค์เลย เข้าเรื่องเลยดีกว่า ผิวพระองค์นี้ มวลสารลอยเนื่องจากอยู่ในน้ำ มาอย่างยาวนาน แต่เราสังเกตได้อีกอย่างคือ ความเก่า ของผิวองค์พระซึ่งเป็นเครื่องบ่งชี้ได้เป็นอย่างดี และของปลอมทำไม่ได้คือความเหี่ยวย่น ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ 700-800ปี และองค์นี้เป็นพิมพ์กลาง คือสภาพพระก็ต้องยอมรับจริงๆว่าไม่สวย แต่แท้ก็พอ หุหุ





เหรียญ หลวงพ่อเอีย หลังร.5 ปี19 กะไหล่ทอง


เหรียญหลักพันพุทธคุณ หลักล้าน วันนี้ เหรียญหลวงพ่อเอีย หลังร.5 สร้างโดยอดีตผู้ราชการจังหวัดปราจีนบุรี ในสมัยนั้น โดยท่านดิเรก โสดสถิต แต่ประวัติการสร้างเหรียญและพระที่ร่วมปลุกเสกผมยังไม่มีข้อมูล วันหลังเจอจะเอามาฝากครับ ที่นำมาให้ชมคีือ พระสวยแชมป์ ครับ



หลวงพ่อเกษม เขมโก พระอภิญญาแห่งเขลางค์นคร




ประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง



หลวงพ่อเกษม เขมโก เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2455 บิดาชื่อ เจ้าหนูน้อย มณีอรุณ มารดาชื่อ เจ้าแม่บัวจ้อน ณ ลำปาง ในวัยเด็ก เจ้าเกษม ณ ลำปาง จัดว่าเป็นคนมีสติปัญญาดีเยี่ยมและเป็นเด็กที่ซุกซนมาก เมื่อย่างเข้าสู่วัยเรียน เจ้าเกษม ณ ลำปาง เข้ารับการศึกษาระดับประถมที่ โรงเรียนบุญวงศ์ อนุกูล โรงเรียนประจำ อ.เมือง จ.ลำปาง สมัยนั้นเรียนชั้นสูงสุดแค่ชั้นประถมปีที่ 5 ปี พ.ศ.2466

เจ้าเกษม ณ ลำปาง จบชั้นสูงของโรงเรียนประถมปีที่ 5 ขณะอายุได้ 11 ปี ต่อมาในปี พ.ศ.2470 ครั้นมีอายุ 15 ปี ได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดบุญยืน จ.ลำปาง เมื่อบรรพชาแล้วก็จำพรรษาศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดบุญยืน ขยันหมั่นเพียรเรียนทางด้านปริยัติศึกษาธรรมะจนถึงปี พ.ศ.2474 สามเณรเจ้าเกษมก็สามารถสอบนักธรรมชั้นโทได้

กระทั่งในปี พ.ศ.2475 สามเณรเกษม ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมา วัดบุญยืนนั่นเอง โดยมี พระธรรมจินดานายก (ฝ่าย) เจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์วิหาร เจ้าคณะอำเภอขณะนั้นเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูอุตรวงศ์ธาดา เจ้าอาวาสวัดหมื่นเทศ และเจ้าคณะอำเภอเมือง จ.ลำปาง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระธรรมจินดานายก เจ้าอาวาสวัดป่าตั๊ว เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “เขมโก” แปลว่า ผู้มีธรรมอันเกษม

ใน ปี พ.ศ.2479 พระภิกษุเขมโก ก็สามารถสอบนักธรรมชั้นเอกได้รวมทั้งสนใจศึกษาเล่าเรียนบาลีควบคู่กันไปด้วย เรียนรู้จนสามารถเขียนและแปลภาษามคธได้เป็นอย่างดี เมื่อเรียนปริยัติพอควรแล้ว สามารถนำไปปฏิบัติได้โดยไม่หลงทาง ท่านจึงหันมาปฏิบัติธรรมจนแตกฉาน โดยเสาะแสวงหาครูบาอาจารย์ที่มีความรู้ และเชี่ยวชาญ ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของ ครูบาแก่น สุมโน อดีตเจ้าอาวาสวัดประตูป่อง โดยได้ติดตามพระอาจารย์ออกธุดงค์บำเพ็ญภาวนาเรื่อยมา ท่านถือปฏิบัติเช่นนี้จนภายหลังได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุญยืน เมื่อปี พ.ศ.2492 ก็ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาส ปลีกวิเวกไปบำเพ็ญเพียรอยู่ตามป่าช้าต่าง ๆ ทั่ว จ.ลำปาง หลายแห่ง เช่น ป่าช้าแม่อาง ป่าช้านาป้อ ก่อนมาปักหลักบำเพ็ญเพียรอยู่ที่ป่าช้าประตูม้า หรือสุสานไตรลักษณ์ ปัจจุบัน จนละสังขารเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2539 รวมสิริอายุ 84 ปี

หลวง พ่อเกษม เขมโก นับได้ว่าเป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ สมควรได้รับความเคารพศรัทธาจากประชาชนชาวไทยทั้งประเทศ ในช่วงท่านบำเพ็ญเพียรอยู่ ณ สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง มักมีประชาชนและญาติโยมไปกราบนมัสการมากมายทุกวันมิได้ขาด แม้ท่านละสังขารไปนานพอสมควรแล้ว ก็ยังมีประชาชนแวะเวียนไปกราบไว้สังขารท่าน ณ สุสานไตรลักษณ์จนทุกวันนี้



ศิษย์คนสนิทรำลึกถึงหลวงพ่อ

ร.ต.ต.สมาน บัวสมบัติ นายตำรวจฝีมือดีในสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล ที่เพื่อนเคยแนะนำให้ไปถวายตัวเป็นลูก “หลวงพ่อเกษม เขมโก” แห่ง สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง เมื่อปี พ.ศ.2534 เมื่อมีโอกาสได้อยู่ใกล้ชิดและได้เห็นจริยวัตร ตลอดจนการปฏิบัติธรรมอันบริสุทธิ์ของหลวงพ่อนานเข้า ทุกเดือนนายตำรวจผู้นี้จะต้องขับรถไปรับใช้หลวงพ่อเกษม 2-3 ครั้งเสมอมิได้ขาด

เขาเล่าว่า เมื่อใกล้เทศกาลสงกรานต์ประมาณปี พ.ศ.2535 หลวงพ่อเกษมเอ่ยปากกับ ร.ต.ต.สมาน ขณะนั้นยังเป็น “นายดาบ” เพื่อนๆ มักนิยมเรียกว่า “ดาบหมาน” ว่า “ไม่เคยอาบน้ำมายี่สิบปีแล้ว” “ดาบหมาน” จึงอาสาหลวงพ่อว่า “ผมขออาบน้ำให้หลวงพ่อได้ไหม” หลวงพ่อถามว่าจะอาบอย่างไร ดาบหมานก็อธิบายว่า จะใช้กะละมังมารองน้ำแล้วก็อาบให้หลวงพ่อ หลวงพ่อจึงตกลงให้ “ดาบหมาน” อาบน้ำให้ท่านได้ นั่นเป็น ครั้งแรกและคนแรกในยี่สิบปี ที่มีโอกาสได้สัมผัสสังขารพระอริยสงฆ์แห่งเขลางค์นคร “ดาบหมาน” เล่าว่า ร่างกายของท่านไม่มีกลิ่นอะไรเลย เลยสะอาดผุดผ่อง จากนั้นมาทุกครั้งที่ “ดาบหมาน” ขับรถไปกราบนมัสการและรับใช้หลวงพ่อ ท่านก็มักจะให้ “ดาบหมาน” อาบน้ำให้เสมอ และเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึง “อภิญญา” แห่งพระอริยสงฆ์ของท่าน สามารถ ล่วงรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า พอดาบหมานจอดรถปั้บ หลวงพ่อก็จะบอกกับผู้ดูแลท่านว่า “เตรียมอาบน้ำได้แล้ว” ทั้งๆ ที่ยังนั่งอยู่ในห้อง มองออกมาไม่เห็นข้างนอกด้วยซ้ำไป



แสดงอภินิหาร-ให้โชคลาภร่ำรวย



วันหนึ่งประมาณเก้าโมงเช้า เจ้าประเวทย์ ณ ลำปาง และเพื่อนเจ้าของโรงงานน้ำปลาโพธาราม ได้เอารถเบนซ์ รุ่น 500 เอสอีแอล ไปรับหลวงพ่อเกษมออกเดินทางจากสุสานไตรลักษณ์เพื่อไปทำบุญที่บ้านเจ้าประ เวทย์ ณ ลำปาง เมื่อเสร็จธุระต่าง ๆ แล้ว หลวงพ่อจะกลับสุสานไตรลักษณ์ แต่ท่านไม่ยอมขึ้นรถเจ้าประเวทย์และเพื่อนท่านบอกว่า จะนั่งรถ “ดาบหมาน” กลับ ทุกคนก็แปลกใจเพราะ “ดาบหมาน” ไม่ได้มาด้วย จึงโทรศัพท์ตามหาตัวให้มารับ ดาบหมานจึงขับรถฮอนด้าซีวิค ทะเบียน ฉ.9723 กรุงเทพฯ มารับหลวงพ่อเกษมที่บ้านเจ้าประเวทย์กลับสุสานไตรลักษณ์ทันที

“ดาบหมาน” เล่าว่า เมื่อหลวงพ่อเกษมนั่งบนรถ ท่าน หลับตาภาวนาตลอดทางจนถึงสุสานไตรลักษณ์ ก่อนลงรถ ท่านเอามือล้วงถุงขนมปังที่พกติดตัวมา หยิบขนมปังเต็มกำมือ ยกขึ้นภาวนาสักครู่แล้วถาม “ดาบหมาน” ว่า “มีตำรวจ–ทหารมาคอยอยู่กี่คน” ไม่ทันที่ดาบหมานจะตอบ ท่านพูดต่อว่า “เอาขนมปังนี่แจกทหาร 4 อัน แจกชาวบ้าน 3 อัน แจกเด็ก 2 อัน” ดาบหมานก็รับขนมปังจากหลวงพ่อเกษมไปแจกตามที่หลวงพ่อบอก

หลังจากแจกขนมปังเสร็จ พาหลวงพ่อเข้าที่พักแล้ว แม่ค้าขายของเข้ามาถามว่า “หลวงพ่อให้ขนมปังกี่อัน” ดาบหมานตอบว่า ท่านให้ ทหาร 4 อัน ชาวบ้าน 3 อัน เด็ก 2 อัน แม่ค้าบอกดาบหมานว่า หลวงพ่อให้หวย ดาบหมานจึงแทงหวย 3 ตัวบนงวดนั้นเลข “432”ออก มาตรง ๆ ได้เงิน 900,000 บาท จึงนำเงินถวายหลวงพ่อ 100,000 บาท ที่เหลือดาบหมานแจกลูกศิษย์ที่ดูแลท่าน จำนวน 11 คน คนละ 10,000 บ้าง 20,000 บ้าง ทั่วทุกคนเป็นที่ฮือฮากันในสุสานไตรลักษณ์

ดาบหมานเล่าว่า เขาถูกหวยจากเลขหลวงพ่อเกษมหลายครั้ง รวมหลายล้านบาท ก่อนหลวงพ่อเกษมมรณภาพ 15 วัน หลวงพ่อเกษมบอกปริศนาแก่ “ดาบหมาน” เขาแทงเลข “519” ถูกอีก นับล้าน งวดนั้นได้เอาเงินที่ถูกหวยมาแจกลูกศิษย์หลวงพ่อ แถมด้วยแจกแม่ค้า-พ่อค้าบริเวณสุสานไตรลักษณ์แทบทุกคน จนเป็นที่เล่าลือกันมากในยุคนั้น



วัตถุมงคลของหลวงพ่อที่ได้รับความนิยม (ขอบคุณภาพสวย ๆ จาก "ลานโพธิ์")























เหรียญ 5 รอบ หลวงพ่อเกษม เขมโก ปี พ.ศ. 2515










เหรียญระฆัง หลวงพ่อเกษม เขมโก ปี พ.ศ. 2516


พระผงมงคลเกษม ปี พ.ศ. 2517



เหรียญแตงโม หลวงพ่อเกษม ปี พ.ศ. 2517




รูปหล่อหลวงพ่อเกษตร เขมโก ก้นดอกจัน ปี พ.ศ. 2518



เหรียญหลวงพ่อเกษม เขมโก หลัง ภปร. ปี พ.ศ. 2523



พระบูชาหลวงพ่อเกษม หน้าตัก 9.9 นิ้ว ปี พ.ศ. 2536



เครดิต : https://sites.google.com/site/patihan2009/hlwng-phx-kesm-khem-ko-phra-xriy-sngkh-haeng-lan-na

รูปหล่อหัวไม้ขีดหลวงพ่อทบ วัดชนแดน ปี 05 ออกวัดชนแดน

ประสบการณ์ พระพิมพ์หัวไม้ขีดฐานสูง ปี 05 เหมือนดังนิบายเมืองจีนชนิดเล่ากันเป็นตำนานแห่งวัดพระพุทธบาทเขาน้อยชนแดน

ด้วยความที่วัตถุมงคลของ ท่านเข้มขลังไปด้วยพุทธคุณ ประกอบด้วยกับการ ให่ประชาชนบูชาด้วยราดาที่ไม่แพง จึงมีผู้มาบูชา แล้วนำไปเก็บไว้ที่ ละเป็นจำนวน มากๆ โดยเฉพาะ คนจีน หรือ เถ้าแก่ จาก ในอำเภอเมือง เพชรบูรณ์ นาเฉียง หนองไผ่ วิเชียรบุรี หล่มสัก เป็นต้น บางเจ้าเก็บไว้ให้ ลูกหลาน เป็นจำนวนหลายองค์ ก็มี เถ้าแก่โรงสีบ้าง เถ้าแก่ร้านทองบ้าง พอรู้ข่าว ว่าท่านออกวัตถุมงคล ชุดใหม่ ก็ หอบเงิน มาบูชา กัน ชนิด ที่เรียกว่า เหมา เลยกันทีเดียว

เป็นประสบการณ์ของ คุณบุญเลี้ยง เถาพันธ์ ได้เล่าให้ พระอาจารย์พรหม ฟังว่า ในสมัยก่อนนั้นหลวงพ่อทบ ท่านได้จัดสร้าง วัตถุมงคลไว้เป็นจำนวนมากในแต่ ละปี เพื่อเป็นทุนในการบูรณะประฎิสังขรณ์ วัดวาอาราม ต่างๆ ที่ท่านเป็นประท่านในการก่อสร้าง วัตถุมงแต่ละอย่างก็มี ราคาถูกมาก เพียงองค์ 5-10 บาท เท่านั้น แต่ท่านก็มีความสามารถ สร้างถาวร วัตถุไว้ในพระพุทธศาสนา ไว้เป้นจำนวนมาก

ในปี พ.ศ. 2505 ในขณะที่ คุณบุญเลี้ยง กำลังทำไร่ข้าวโพดอยู่ที่ ตำบล วังพิกุล อำเภอ บึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ ขณะที่ทำ ไร่อยู่นั้น ก็มีแม่ชี ได้นำ รูปหล่อเล็กรุ่นหัวไม้ขีด ของหลวงพ่อทบ วัดชนแดน ไปจำหน่ายให้ โดยตั้งราคา ไว้ องค์ละ 20 บาท โดยที่แม่ชีเล่า ประสบการณ์ ต่างๆ ให้กับ คุณบุญเลี้ยง ฟังเรื่องต่อหลายเรื่อง และตอนสุดท้าย คุณบุญเลี้ยง ก็เช่าบูชา รูปหล่อหลวงพ่อทบ

คุณบุญเลี้ยงเล่าว่า เงิน 20 บาท เมื่อ 50 ปีก่อน ไม่ใช่ของ น้อยๆเลย ขนาดไปรับจ้างทำไร่วันหนึ่ง ยังได้ค่าจ้างวันละ 4-5 บาท เท่านั้งเอง เงินจำนวน 20 บาท นี้ตนจึงรู้สึกเสียดาย เพราะมันช่างมากมาย และหายาก จึงได้บอกกับแม่ชี ว่าเอายังนี้ ก็แล้วกัน ก่อนที่จะบูชา ขอทดลองก่อนได้ไหม ตอนแรกแม่ชี ก็ไม่ยินยอม พอ ตนยกเหตุผลขึ้นอ้างว่า ของดีจริงย่อมลองได้ หลังจากนั้น แม่ชี จึงยอม

คุณ บุญเลี้ยง จึงเอา รูปหล่อ เล็กรุ่นหัวไม้ขีด ของหลวงพ่อทบ ไปวางไว้บนตอ ไม้ จากนั้นใช้ปืนลูกซอง ยาวทดลอง ยิงดู นัดแรกเสียงดัง แชะ จึงหักลำเปลี่ยนกระสุน นัดใหม่ แล้วเหนี่ยวไกยิง เสียงดัง แชะ เป็นครั้งที่สอง คุณบุญเลี้ยง จึงเปลี่ยนกระสุน นัดใหม่ เป็นนัด ที่สามพร้อมกัน นั้นก็ขยับ เข้าไปใกล้กับ ตอไม้ ในขณะนั้นเหลือ ระยะห่าง ระหว่างปลายกระบอก ปืนกับ รูปหล่อ เพียงฟุต กว่าๆ เท่านั้น คุณบุญเลี้ยง คิดว่ายังไงนัดนี้ รูปหล่อคงกระเด็นแน่ แต่พอเหนี่ยวไกเท่านั้นไก ปืน กลับแข็ง ออกแรง เหนี่ยวเท่าไร ก็ไม่ยอมลง จึงต้อง ยอมแพ้ ในที่สุด
 
ลงที่มานี้ไม่สวยแต่ดูง่ายครับ
เครดิต : http://www.zoonphra.com/shop/catalog.php?storeno=c003&idp=48